top of page
สถานีกู้ชีพปลา.jpg

สถานีกู้ชีพปลา

Fish rescue station

นวัตกรรมการบริหารจัดการฟาร์มเลี้ยงปลานิลเพื่อการตลาดแบบครบวงจร

เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในพื้นที่ตำบลสันกลาง มีรวมกันประมาณ 400 กว่าไร่ มูลค่าผลผลิตมากกว่า 500 ล้านบาท ต่อปี

การเลี้ยงปลานิลต้องอาศัยการบริหารจัดการน้ำ และสิ่งแวดล้อม       การประสบปัญหาปลาตายเนื่องจากคุณภาพน้ำ    สภาวะอากาศ เป็นความเสี่ยงที่ผู้เลี้ยงปลานิลล้วนเคยประสบปัญหา เกษตรกรต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติ  ชีววิทยาปลานิล และรู้จักสังเกต สีของน้ำในบ่อเลี้ยงปลา รวมถึงการควบคุมค่าออกซิเจนของน้ำ ที่เป็นสาเหตุสำคัญของปลานิลตาย หรือที่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเรียกโดยทั่วไปว่า

"ปลาน็อค"

แนวคิด

สถานีกู้ชีพปลา เป็นการขับเคลื่อน ที่มุ่งเน้นให้เกิดความสุข สร้างความสามัคคีให้เป็นตำบลที่เข้มแข็ง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีปราชญ์ การถ่ายทอดความรู้ การมีที่ดินทำกินจำกัด เป็นสาเหตุที่ทำให้ ต้องหาอาชีพที่ได้ผลกำไรมากที่สุด การเลี้ยงปลาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ สร้างฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น แต่ก็เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้สินจากการลงทุน และหากว่าประสบภัยไม่ว่าจากสาเหตุ สภาพอากาศ สภาพน้ำ การขาดองค์ความรู้ จะทำให้เกษตรกรเป็นหนี้เพิ่มขึ้น

post_thumbnail_2019012519260441892.jpg

อาจารย์ มทร.ล้านนา เชียงราย วิทยากรให้ความรู้   การปัญหาปลาน๊อคน้ำตายในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง

อาจารย์ชัยยุทธ  นนทะโคตร อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรจากองค์การบริการส่วนตำบลสันกลาง บรรยายให้ความรู้เรื่อง ปัญหาปลาน๊อคน้ำตายในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงตามหลักวิชาการจากผลงานวิจัย ให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ในโครงการ "สถานีกู้ชีพปลานิล" เพื่อให้เกษตรกรนำความรู้ไปใช้กับการเลี้ยงปลารวมทั้งเข้าใจในเรื่องการบริหารจัดการการเลี้ยงปลานิล ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง จังหวัดเชียงราย

ส่งเสริมการแปรรูปปลานิล

ปลานิลที่ตายด้วยอาการน็อคจะยังคงมีความสดอยู่ จึงนำมาเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเพื่อเป็นการถนอมอาหารและออกจำหน่าย เศษไส้และเครื่องในที่คัดออกนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักไว้ใช้ในการเกษตร การแปรรูปปลานิลนิยมที่จะนำไปทำเป็นปลาส้ม ซึ่งจะมีระยะเวลาฟักประมาณ 10 วัน สามารถนำไปทอดรับประทานได้ 

bottom of page