นวัตกรรมการบริหารจัดการฟาร์มเลี้ยงปลานิล
เพื่อการตลาดแบบครบวงจร
สถานีกู้ชีพปลา
Sanklang Fish Rescue Station
สถานีกู้ชีพปลาตำบลสันกลาง เริ่มจากรวบรวมปัญหาความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่จากการประชาคมและการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูล กำหนดความต้องการของเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงปลาในพื้นที่ กำหนดเป้าหมายโครงการ กำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายโครงการ กำหนดระยะเวลาของแต่ละกิจกรรม จัดตั้งทีมงานในแต่ละกิจกรรม การจัดโครงการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร ได้แก่ การจัดโครงการ smart farmer เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรผู้เลี้ยงปลา การส่งเสริมให้ใช้หญ้าเนเปียในการเลี้ยงปลาแทนการให้อาหาร เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและป้องกันการน็อคของปลา การรับสมัครอาสาพิทักษ์ปลา การตรวจดูแลคุณภาพของน้ำที่ใช้เลี้ยงปลา การแจ้งพยากรณ์อากาศ และการช่วยเหลือโดยการนำอุปกรณ์เพิ่มอากาศในน้ำเข้าไปช่วยเหลือ ในกรณีที่ปลามีอาการน็อคน้ำ โดยจะมีอาสาสมัครที่เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้เลี้ยงปลา เข้ามาสมทบช่วยเจ้าหน้าที่ และมีการประเมินผลโครงการ โดยวิธีคำนวณอัตราการสูญเสียระหว่างก่อนดำเนินโครงการ ตามรอบระยะเวลาการเลี้ยง (7-8 เดือน)
นโยบายของผู้บริหาร
คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง โดยการนำของ นายณรงค์ ติ๊บแปง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้มีแนวคิดในการป้องกันและบรรเทาเหตุปลาน๊อค จึงมีนโยบายเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตร โดยจัดตั้ง สถานีกู้ชีพปลาขึ้น เพื่อเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการฟาร์มเลี้ยงปลานิลและเพื่อการตลาดแบบครบวงจร